วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

หน่วยที่ 1 หลักการทำงานของการสื่อสารข้อมูล



จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของการสื่อสารข้อมูลและยกตัวอย่างของการติดต่อสื่อสารได้
2. อธิบายได้ว่าส่วนประกอบของระบบสื่อสารข้อมูลประกอบไปด้วยส่วนใดบ้าง
3. รู้จักและเข้าใจรูปแบบการทำงานของตัวกลางการสื่อสารประเภทต่างๆและสามารถเลือกประเภทของตัวกลางมาใช้งานได้
4. สามารถแบ่งประเภทของการส่งข้อมูลและยกตัวอย่างการส่งข้อมูลแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง

การสื่อสารข้อมูลเบื้องต้น
การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) การสื่อสารเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสองฝ่าย
เมื่อโลกพัฒนาก้าวหน้าขึ้นมีการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารด้าน อื่นอีกมากมาย มีการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ขื้นมาก็มีการคิดค้นวิธีการส่งข้อมูลระหว่าง คอมพิวเตอร์เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายวิธีการส่งข้อมูลของคอมพิวเตอร์ นี้เรียกว่า การสื่อสารข้อมูล หมายถึงการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล
ส่วนประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล
แหล่งต้นกำเนิด หรือฝ่ายส่ง ทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลข่าวสารไปยัง แหล่งปลายทางหรือฝ่ายรับที่เราต้องการส่งข้อมูลข่าวสารนั้นไป แหล่งต้นกำเนิดและแหล่งปลายทางนี้อาจจะเป็นมนุษย์หรือเครื่องมือต่างๆก็ได้ โดยการส่งข้อมูลนั้นผ่านช่องทางการสื่อสารหรือตัวกลางตัวกลางจะขึ้นกับฝ่ายรับและฝ่ายส่งว่าเป็นมนุษย์หรือเครื่องมือชนิดใด
อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล
ตัวกลางการสื่อสาร คือเครื่องรับและเครื่องส่ง อาจจะเป็นระบบไร้สายที่เป็นคลื่นต่างๆ
สายคู่บิดเกลียวชนิดมีการกั้นสัญญาณรบกวน (Shielded Twisted Pair : STP) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอสทีพี เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยตัวกันสัญญาณเพื่อป้องกันการรบกวน
สายโคแอกเชียล (coaxial)เป็นสายสัญญาณที่มีสายทองแดงเดี่ยวเป็นแกนกลางและมีสายทองแดงถักล้อมรอบเป็นตัวกั้นสัญญาณรบกวนอยู่ด้านนอก
เส้นใยนำแสง (fiber optic) เป็นสายที่ใช้แสงความถี่สูงวิ่งไปตามเส้นใยแก้วสายสัญญาณชนิดนี้สามารถนำข้อมูลได้มากสามารถส่งได้ถึงกว่าพันล้านบิตต่อวินาที
โมโครเวฟ (Microwave) เป็นการส่งสัญญาณข้อมูลไปในอากาศในลักษณะของการบังคับทิศทางจากเสาอากาศของผู้ส่งไปยังเสาอากาศของผู้รับโดยจานรับสัญญาณบนเสาอากาศของผู้ส่งและผู้รับจะต้องหันทิศทางให้ตรงกัน ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
ดาวเทียม (Satellite)ลักษณะการทำงานจะคล้ายกับไมโครเวฟ แตกต่างกันที่ตรงที่ ดาวเทียมจะมีสถานีรับ-ส่ง ลอยอยู่ในอากาศดาวเทียมทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้น
การส่งข้อมูล
แบบซิมเพล็กซ์(Simplex) เป็นการติดต่อทางเดียว เมื่ออุปกรณ์หนึ่งส่งข้อมูล อุปกรณ์อีกชุดจะต้องเป็นฝ่ายรับข้อมูลเสมอ
แบบฮาฟดูเพล็กซ์ (Half Duplex)เป็นการติดต่อกึ่งสองทางเป็นการเปลี่ยนเส้นทางในการส่งข้อมูลได้ แต่คนละเวลาคือข้อมูลจะไหลไปในทิศทางเดียวณ เวลาใด ๆ
แบบฟลูดูเพล็กซ์ (Full Duplex) เป็นการติดต่อสองทาง คือเป็นผู้รับข้อมูลและผู้ส่งข้อมูล ในเวลาเดียวกันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น